พิษร้ายหน้าฝน “แมลงก้นกระดก”

พีเดอริน (Paederin) คือ สารพิษในตัวแมลงก้นกระดกที่ทำให้ผิวหนังชั้นนอกอักเสบ ระคายเคือง เกิดผิวหนังไหม้จากการ “สัมผัสตัวแมลง” ไม่ใช่เกิดจากการกัดหรือต่อย ซึ่งส่วนใหญ่คนไข้มักจะไม่รู้ตัว เมื่อสัมผัสแมลงชนิดนี้

ลักษณะอาการเมื่อสัมผัสแมลงก้นกระดก

  • แผลจะไม่เกิดขึ้นทันที ต้องรอจนช่วงระยะเวลาหนึ่งจึงจะเห็นรอย
  • มีผื่นแดงลากยาวเป็นขีด ๆ
  • เกิดตุ่มน้ำพอง
  • ปวดแสบปวดร้อน
  • คัน ระคายเคือง
  • แผลมีลักษณะไหม้

พื้นที่ที่สามารถพบเจอแมลงก้นกระดกได้

  • พบได้ทั่วไปในหน้าฝน
  • ตามสถานที่ที่มีต้นไม้
  • บ้านที่เปิดหน้าต่างทิ้งไว้

การดูแลและการป้องกันเบื้องต้นเมื่อสัมผัสแมลงก้นกระดก

  • ล้างด้วยน้ำเปล่าที่สะอาด
  • ประคบเย็นในบริเวณที่โดนสัมผัส
  • รอยเล็ก ๆ สามารถหายได้ใน 2-3 วัน เพราะไฟจะล่อแมลงเข้ามา
  • หากเป็นแผลกว้าง หรือใกล้บริเวณสำคัญ เช่น ดวงตา ให้รีบมาพบแพทย์ผิวหนัง
  • ติดมุ้งลวดตามประตู หน้าต่าง
  • ปิดไฟเมื่อไม่ได้ใช้ เพราะไฟจะล่อแมลงเข้ามา
  • ฉีดสเปรย์จํากัดแมลง

 

ข้อมูลจาก
รศ. พญ.ณัฎฐา รัชตะนาวิน
หัวหน้าหน่วยโรคผิวหนัง ภาควิชาอายุรศาสตร์
คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี
มหาวิทยาลัยมหิดล

ใส่ความเห็น